วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ระบบบริหารงานคุณภาพ TQC

**ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร**
        TQC คือกิจกรรมที่พนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกหน่วยงานทําหรือ ร่วมกันทําเป็นประจํา เพื่อปรับปรุงงานอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง โดยทํ าอย่างมีระบบ ทําอย่างเชิงวิชาการ อิงข้อมูล และมีหลักการที่สมเหตุสมผล เพื่อจุดหมายที่ทํ าให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพสินค้าและบริการ
                      T = TOTAL  หมายถึง ทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และทุกวัน
          Q = QUALITY หมายถึง คุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ และคุณภาพ  ของงานประจำวันทุกชนิด 

** QUALITY ตามความหมาย TQC **
มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ
1.  คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ
2.   ต้นทุน (Cost = C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงานซึ่งจะมีผล
ต่อราคาสินค้า และบริการนั้น
3.   การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง
ไปในสถานที่ที่ถูกต้อง และตรงตามเวลาที่นัดหมาย
4.   ความปลอดภัย (Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัย
ของพนักงาน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ
5.   ขวัญของพนักงาน (Morale = M) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่าง
ต่อเนื่อง โดยมีความเชื่อว่าขวัญและกำลังใจของพนักงานมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรม
การทำงานของพนักงาน และการปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

 **ความหมายของ TQC ในมุมมองต่างๆ (ต่อ)**

         -ดร. เฟเกนบาม  (  Dr.  Feigenbaum )  กล่าวไว้ว่า  TQC  คือ  ระบบหรือวิธีการที่รวบรวมความพยายามของกลุ่มต่างๆในองค์กร  ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในอันที่จะให้การผลิตและการบริการอย่างประหยัดที่สุด  โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าอย่างรอบคอบ
-ดร. จูแรน  ( Dr.  Juran )  ผู้ศึกษาและพัฒนา  TQC  อีกผู้หนึ่ง  กล่าวว่า  TQC  เป็นกิจกรรม
ทุกกิจกรรมที่สมเหตุสมผล ที่ทำให้คุณภาพเป้าหมายสัมฤทธิ์ผล

 **ในอดีตผู้ผลิตสินค้าจะเน้นความพอใจของผู้ผลิตเป็นสำคัญ  นั่นคือ  ยึดถือคุณภาพ
  ของสินค้าตามที่ผู้ผลิตกำหนดเป็นมาตรฐานในการผลิตเท่านั้น **


 **ต่อมาในปัจจุบัน  ความหมายตามแนวความคิดดั้งเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปคำจำกัด
  ความของคุณภาพคือ  ความพอใจของผู้ใช้หรือคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน** 

   



**ความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวม**
  
1.การรวมกิจกรรมทุกๆ อย่างในองค์กรเข้าด้วยกัน 
2.เป็นการร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายในองค์กร 
3.เป็นการร่วมมือกันของทุกคนในองค์กร


**TQC วิวัฒนาการของการควบคุมคุณภาพ **
 1.TQC  เป็นวิวัฒนาการอีกชั้นหนึ่งของการควบคุมคุณภาพ (QC) 
 2.เริ่มเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2  
 3.โดยที่ญี่ปุ่นได้แรงจูงใจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา 
 4.เริ่มแรกนั้นเป็นการใช้  QC  ในเชิงสถิติ  SQC  ( Statistical  Quality  Control )  
  แล้วก็เกิดกลุ่ม  QCC  ( Quality  Control  Circle ) 



 **หลักการของ TQC ** 


                  TQC  ได้วิวัฒนาการมาจาก   QCC    กิจกรรมกลุ่ม  QCC  เป็นพื้นฐานที่ค้ำจุน  TQC  
             ดังนั้น  TQC  จะต้องมีกิจกรรมกลุ่ม  QCC  อยู่ด้วยเสมอ  โดยมีหลักการดังนี้
1. เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ภายใต้ความสำนึกที่ว่ากิจการที่ทำอยู่ในองค์กรเปรียบ
เสมือนหนึ่งเป็นกิจการของตนเอง  ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีหน้าที่พัฒนาปรับปรุงงาน
ต่างๆ ภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดภายใต้การปฏิบัติงานที่มีความสามัคคี  
ร่วมแรงร่วมใจปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานอย่างเปิดเผย 
2. รับฟังความคิดเห็นต่างๆโดยให้ความเคารพในความคิดเห็นของบุคคลอื่น  พูดจาด้วยเหตุ

และผล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหลัก  ตัดเรื่องปัญหาภูมิหลังต่างๆ 

 ของเพื่อนร่วมงานออกไป  เสริมสร้างให้มีการแสดงออกอย่างเป็นอิสระ  เพื่อให้เกิดสัมพันธ

ภาพอันดี และจะเป็นผลทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่น่าอยู่ น่าสนุกสนาน

  **ประโยชน์และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  TQC**
  มีการดำเนินกิจกรรม  TQC  กันแล้ว  ก็จะเกิดผลที่ดีคือ  
   1.   มีความสามารถในการค้นหาปัญหา
   2.   เห็นความสำคัญของการวางแผนงาน
   3.   เห็นความสำคัญของงานที่เป็นกระบวนการ
   4.   สามารถมุ่งสู่จุดหลักที่สำคัญได้
   5.   พนักงานทุกคนรู้ซึ้งถึงความเป็นระบบ

** เทคนิคการวิเคราะห์  7  อย่าง**
1.   ใบตรวจสอบ  ( check  sheet )   
2.   ฮีสโตแกรม  ( histogram )
3.   แผนภูมิพาเรโต  ( Pareto  diagram )
4.   ผังก้างปลา  ( fish – bone  diagram )  หรือผังเหตุและผล  ( Cause – Effect  diagram )
5.   กราฟ  ( graph )
6.   แผนภูมิกระจาย  ( scatter  diagram )
7.   แผนภูมิควบคุม  ( control  chart )

** ปัจจัยสำคัญในการบริหารงาน TQC**
1.องค์กรมีนโยบายและเขียนเป็นนโยบายชัดเจน
2.มีอุดมการณ์ที่เน้นเรื่อง “คน” / ทํ าความเข้าใจอย่างชัดเจน
ในกลุ่ม พนักงานทุกระดับ
3.วางระบบบริหารคุณภาพทั้ง TOP-DOWN & BOTTOM-UP
4.เน้นการฝึกอบรม ให้ความรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
5.TOP MGMT เป็นผู้นํ าในการปฏิวัติแนวความคิดใหม่ที่จะนํ าไปสู่
6. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรTQC ต้องทํ างานเป็นทีม ทํ าอย่างต่อเนื่อง

** อ้างอิง**


 

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเอกสารเกิน 10 หน้าต้องดำเนิดการอย่างไรครับ

    ตอบลบ